วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

บทที่13 จับจองพื้นที่ส่วนตัวบนอินเตอร์ google Blogger

บทที่13 จับจองพื้นที่ส่วนตัวบนอินเตอร์ google Blogger

         อีกบริการหนึ่งที่ได้รับความนิยมบนอินเทอร์เน็ตอย่างสูงในปัจจุบัน สำหรับผู้ที่ท่องเน็ตเป็นประจำและต้องการเผยแพร่ความคิด แนะนำตัว หรือนำเสนอบางสิ่งบางอย่างได้ง่ายๆ อย่างเร็ว

Blog คืออะไร
        Blog ทำหน้าที่เหมือนสมุดบันทึกส่วนตัวหรือเอกสารแนะนำตัว Blog สามารถที่จะติดต่อสื่อสารไปถึงแหล่งต่างๆ ทั่วโลกได้ ซึ่งเราสามารถเข้าใจวิธีการใช้งานของ Blog ได้ไม่ยากเพราะพูดอีกในหนึ่ง Blog คือเว็บนั่นเอง โดยหลักการทำงานของ Blog คือข้อมูลที่อัพเดตทีหลังจะแสดงข้อมูลขึ้นอยู่ด้านบนสุด ถ้าเราเป็นฝ่ายคนเข้าชมเราจัสามารถเห็นข้อมูลล่าสุดแสดงอยู่ด้านบนสุด หลังจาก Blog ถูกจัดทำขึ้นยังไม่ถึง 5 ปี Blog ก็ได้รับความนิยมอย่างมาก ซึ่งมีการติดต่อสื่อสารผ่าน Blog ประมาณหนึ่งล้านการติดต่อสื่อสาร

ขั้นตอนการสร้าง Blog 
          ในที่นี้ขอแนะนำขั้นตอนง่ายๆ ในการสร้าง Blog ส่วนตัวของเรา โดยเช้าไปจังจองพท่นที่ส่วนตัวจากเว็บไซต์ที่ให้บริการด้านนี้โดยตรงอย่าง www.blogger.com โดยแบ่งขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ ขั้นตอนที่
        1 : สร้าง Blogger Acount ขั้นตอนที่
        2 : ระบุชื่อ Blog ขั้นตอนที่
        3 : เลือกเทมเพลตให้ Blog

         ขั้นตอนที่ 1 : สร้าง Blogger Acount
                 ก่อนที่เราจะทำการสร้าง Blog ขึ้นมา เราต้องสร้าง Blogger Acount ขึ้นมาก่อน เพื่อใช้สำหรับล็อกออนเข้าแก้ไขหรือสร้างเนื้อหาภายใน Blog ของเรา โดยในปัจจุบันบริการของเว็บ Blogger ได้ผนวกให้ผู้ใช้สามารถนำอีเมล์ของ Google มาใช้กับงาน Blogger Acount ได้ทันที โดยไม่ต้องสร้าง Blogger Acount ใหม่ ขั้นตอนที่
          2 : ระบุชื่อ Blog
                ขั้นตอนนี้ให้เราระบุชื่อ Blog ของเรา พร้อมทั้งกำหนดชื่อ URL ของ Blog เพื่อสามารถนำไปเผยแพร่ต่อ ให้คนอื่นสามารถเข้ามาเยี่ยมชม Blog ของเราได้ โดยชื่อ URL จะอยู่ภายใต้ http://......blogpost.com ให้กำหนดชื่อที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา Blog ของเรา หรือใช้เป็นชื่อของเราก็ได้ เพื่อให้สามารถจดจำและสื่อความหมายต่อเนื้อหาได้ง่าย ขั้นตอนที่
         3 : เลือกเทมเพลตให้ Blog
                สุดท้ายเป็นการเลือกรูปแบบเทมเพลตเบื้องต้นให้กับ Blog ซึ่งจะประกอบด้วยสีพื้นหลัง รูปแบบการจัดวางหัวข้อและเนื้อหาภายใน Blog แบบสำเร็จรูป ซึ่งมีให้เราเลือกหลาย 10 แบบ (สำหรับเนื้อหาของ Blog นั้น จะเป็นการเพิ่มเติมหลังจากการสมัคร Blogger เรียบร้อยแล้ว) 

สร้างเนื้อหาบน Blog 
         หลังจากที่เราสร้าง Blogger Acount เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มาถึงขั้นตอนของการสร้างเนื้อหาที่ต้องการบน Blog ซึ่งเราเรียกว่าการ โพสต์ (Post) ในขั้นพื้นฐานนี้ Blog ของเราจะประกอบด้วย ข้อความต่างๆ รูปภาพ และลิงค์ ซึ่งมีขั้นตอนในการทำง่ายๆ ดังนี้

เริ่มต้นโพสต์เนื้อหาลงบน Blog 
         เราสามารถเข้าไปเพิ่มเนื้อหาที่ต้องการลงบน Blog ได้ทันที ซึ่งการเพิ่มเนื้อหาแต่ละครั้งจะหมายถึงการสร้างหน้าเว็บภายใน Blog ของเราขึ้นมา 1 หน้า (ซึ่งสามารถสร้างได้หลายๆ หน้า) โดยก่อนอื่นให้เราล็อกออนเข้าใช้งาน Blog จากเว็บ www.blogger.com ก่อน

ใส่ข้อความลงใน Blog 
          เนื้อหาหลักก็คือส่วนของข้อความ ซึ่งเราสามารถพิมพ์ข้อความที่ต้องการลงไปได้ทันที โดยมีเครื่องมือ สำหรับปรับแต่งรูปแบบข้อความด้านบน เช่น แบบอักษร ขนาดตัวอักษร ลักษณะตัวอักษร สีตัวอักษร และการจัดวางข้อความ เป็นต้น

การแทรกรูปลงบน Blog 
         นอกจากการแทรกข้อความทั่วไปแล้ว เราสามารถเลือกแทรกรูปลงบนเนื้อหา เพื่อช่วยอธิบายหรือเสริมเนื้อหาให้น่าอ่านมากยิ่งขึ้นได้ โดยวิธีการเพิ่มภาพเข้ามาใน Blog นั้น ที่มาของภาพนั้นสามารถมาจาก 2 ทาง คือ
         ภาพที่เก็บไว้บนเครื่อง คือเลือกภาพที่เราเตรียมไว้ในเครื่อง และทำการอัพโหลดภาพขึ้นไป
         ภาพจากเว็บ นำ URL ของภาพจากเว็บอื่นๆ แล้วนำมาระบุไว้ในช่องที่กำหนดซึ่งวิธีนี้อาจสะดวกกว่า และทำให้ Blog ของเราขนาดไม่ใหญ่มากแต่ URL ที่นำมาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเวลาผ่านไป ซึ่งทำให้ภาพไม่ถูกแสดง (วิธีดู URL ของภาพ ให้คลิกขวาที่ภาพบนเว็บและเลือก Properties จะปรากฏ URL ของภาพที่หัวข้อ Address)

การแทรกลิงค์ 
         ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมาก การนำเสนอข้อมูลจาก Blog ของเรา นอกจากอยู่ในรูปของข้อความหรือรูปภาพแล้ว เรายังสามารถแทรกลิงค์เพื่อให้ผู้เยี่ยมชม Blog คลิกเพื่อกระโดดไปยังหน้าเว็บเพจอื่นๆ ที่เราเตรียมไว้ ซึ่งมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาของเราได้อีกด้วย

นำ Blog ขึ้นแสดงบนอินเทอร์เน็ต
        หลักจากเนื้อหาและตกแต่ง Blog ของเราจนเป็นที่พอใจแล้ว สุดท้ายคือการนำ Blog นี้ขึ้นเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต หรือเรียกว่าการ Publish เป็นการอัพโหลดหน้า Blog ของเราขึ้นไปบนเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการ เพื่อให้คนอื่นๆ สามารถเข้ามาเยี่ยมชม Blog ของเราได้

การปรับปรุง Blog หลังนำ Blog 
         ขึ้นแสดงบนอินเทอร์เรียบร้อยแล้ว เราสามารถเข้าไปอัพเดต หรือเพิ่มเติมเนื้อบน Blog ของเราได้อีกภายหลัง ซึ่งรวมทั้งการทั้งปรับเปลี่ยนรูปแบบของ Blog ได้ด้วย เพื่อให้เนื้อหาบน Blog ของเรา อัพเดตอยู่เสมอ โดยให้เราล็อกออนเข้าใช้งาน Blog ซึ่งจะพบกีบหน้าต่าง Dashbord แสดงรายการ Blog ทั้งหมดที่เราสร้างขึ้น โดยสามารถเลือกเข้าสู่การปรับแต่ง Blog ในส่วนต่างๆ ได้ดังนี้


  • Posts : ปรับปรุงเนื้อหาภายใน Blog 
  • Settings : ปรับแต่งค่าต่างๆ สำหรับ Blog 
  • Layout : ปรับแต่งรูปแบบการแสดง Blog
ปรับปรุงเนื้อหาภายใน Blog 
         หากเราต้องการเพิ่มหรือปรับปรุงเนื้อหาบางส่วนบน Blog ที่เรานำขึ้นบนอินเทอร์เน็ตเรียบร้อยแล้ว ให้เราคลิกเมาส์ที่คำสั่ง Post เพื่อสู่เข้าปรับแต่งเนื้อหาของหน้าเว็บใน Blog

ปรับแต่งคำต่างๆ สำหรับ Blog 
         สำหรับปรับแต่งรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับ Blog เช่น หหัวข้อ Blog หรือคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Blog นี้ เป็นต้น โดยให้เราคลิกที่คำสั่ง Settings และกำหนดรายละเอียดที่ต้องการ

ปรับแต่งรูปแบบการแสดง Blog 
         ในที่นี้คือรูปแบบการแสดงรายละเอียดต่างๆ บนBlog ซึ่งในแต่ละหน้าเนื้อหาของ Blog จะถูกแบ่งอกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนหัวเรื่อง (Header) ส่วนเนื้อหา (Blog Posts) ส่วนแสดงรายชื่อหน้าเนื้อหาใน Blog (Bolgger Acount) และส่วนแสดงข้อมูลผู้จัดทำ (About Me) โดยเราสามารถเลือกส่วนที่ต้องการเข้าไปแก้ไขได้

ปรับแต่งส่วนของเนื้อหาเว็บ
          คลิก Blog Postes จะเข้าสู่หน้าต่างปรับแต่งที่เราสามารถเลือกแสดงรายการต่างๆ ในหน้าเนื้อหาของ Blog ได้ เช่น วันที่/เวลา, ซื่อผ้สร้างเนื้อหา เป็นต้น

ปรับแต่งส่วนหัวของ Blog 
           คลิกที่ Header เพื่อเข้าไปกำหนดชื่อหัวเรื่องพร้อมคำอธิบายเพิ่มเติมของ Blog ที่ช่อง Blog Title และ Blog Description ตามลำดับ

ปรับการแต่งการแสดงรายการหน้าเนื้อหา
           คลิกที่ Blog Achive เพื่อกำหนดการแสดงรายการของหน้าเนื้อหาทั้งหมดใน Blog เช่น กำหนดชื่อหัวเรื่อง รูปแบบการแสดงรายการ วันที่ที่มีการสร้างเนื้อหา เป็นต้น

ปรับแต่งส่วนหัวของ Blog 
          คลิกที่ About Me เพื่อกำหนดรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับผู้สร้างเนื้อหาหรือตัวเราเอง รวมทั้งต้องการให้แสดงไว้ใน Blog หรือไม่

สรุป Blog
          ทำหน้าที่เป็นสมุดบันทึกส่วนตัวหรือเอกสารแนะนำตัว เป็นเหมือนเว็บๆ หนึ่ง โดยมีหลักการทำงานคือ ข้อมูลที่อัพเดตทีหลังจะแสดงข้อมูลขึ้นอยู่ด้านบนสุด Blog ยังมีส่วนการแสดงความคิดคิดเห็นหรือสาระสำคัญ สามารถจัดเป็นสมุดพกส่วนตัว และสามารถลิงค์ไปที่เว็บต่างๆ ได้ทั่วโลก

บทที่12 ท่องโลกทั้งใบกับ google earth

บทที่12 ท่องโลกทั้งใบกับ google earth


Google Earth
          Google Earth นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Google ในการสร้างระบบติดต่อกับผู้ใช้งาน (user interfacing) เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและทำให้การแสดงผลข้อมูลมี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในครั้งนี้ Google ได้นำเอาภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมมาผสมผสานกับเทคโนโลยี streaming และทำการเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลของ Google เองเพื่อนำเราไปยังจุดต่าง ๆ ที่ต้องการบนแผนที่โลกดิจิตอล (VMaster, 2549)ประวัติบริษัทและเว็บไซต์ Googleช่วงก่อตั้ง

ความหมายของ Google Earth 
          Google Earth คือโปรแกรมโหลดภาพถ่ายจากทั่วทุกตารางนิ้วในโลก ที่ประชาชนสามารถเข้าไปดูได้แม้แต่สถานที่ที่เป็นความลับทางยุทธศาสตร์สำคัญของโลก อาทิ เพนตากอน ทำเนียบขาว แอเรีย 51

ความเป็นมา Google Earth 
          DigitalGlobe ทำงานร่วมกับ Google มาตั้งแต่ พ.ศ.2545 เพื่อนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมมาสู่ผู้ใช้ทั่วไปทุกครั้งที่เราเปิดโปรแกรม Google Earth จึงมักจะเห็นข้อความว่า Image © 2005 DigitalGlobeนั่นคือ ภาพถ่ายดาวเทียมส่วนใหญ่ของ Google Earth เป็นภาพที่จัดทำโดย Digital Globe บริษัท DigitalGlobe เกิดขึ้นจากการรวมตัวของผู้ใช้ GIS และผู้ใช้แผนที่ เป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายภาพถ่ายดาวเทียมความละเอียดสูงให้กับผู้ใช้ทั่วไป โดยผ่านทางอินเตอร์เน็ต www.DigitalGlobe.com ภาพถ่ายดาวเทียมที่บริษัทนี้จัดจำหน่าย มีความละเอียดขนาด 60 ซม. (panchromatic) และ 2.44 เมตร(multispectrum) ซึ่งถือว่ามีความละเอียดสูงที่สุดเท่าที่มีจำหน่ายเชิงพาณิชย์ในปัจจุบัน

          สำนักงานใหญ่ของบริษัทอยู่ที่สหรัฐอเมริกา และมีบริษัท DigitalGlobe Asia อยู่ที่สิงคโปรอีกด้วย ภาพถ่ายได้จากดาวเทียม QuickBird ซึ่งมีความสามารถถ่ายภาพได้ถึงปีละ 70 ล้านตารางกิโลเมตร ดาวเทียมดวงนี้ปล่อยขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2544 มีวงโคจรสูงจากพื้นโลก 450 กิโลเมตร ถ่ายภาพได้ครั้งละ 16.5x16.5 กิโลเมตร โคจรหนึ่งรอบถ่ายภาพได้ประมาณ 57 ภาพคิดเป็นข้อมูล 128 gigabits ในอนาคตไม่เกินปี 2550 DigitalGlobe มีโครงการส่งดาวเทียม WorldView ขึ้นสู่อวกาศ ซึ่งมีความละเอียดสูงขึ้นอีก (50 ซม. panchromatic และ 2.0 เมตร multispectrum)เราสามารถเข้าไปดูภาพถ่ายตัวอย่างที่มีจัดจำหน่ายได้โดยเข้าไปในเว็บ www.DigitalGlobe.com แล้วคลิกที่ImageLibrary ภาพถ่ายเหล่านี้สามารถสั่งซื้อได้จากหน่วยงานที่เป็นตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยคือ GISTDA และบริษัท SCITEK KRUNGTHEP CO.,LTD (พุทธพร ส่องศรี, 2549)

ที่มาของ Google Earth
          Google Earth นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของ Google ในการสร้างระบบติดต่อกับผู้ใช้งาน (user interfacing) เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและทำให้การแสดงผลข้อมูลมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในครั้งนี้ Google ได้นำเอาภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายจากดาวเทียมมาผสมผสานกับเทคโนโลยี streaming และทำการเชื่อมโยงข้อมูลจากฐานข้อมูลของ Google เองเพื่อนำเราไปยังจุดต่าง ๆ ที่ต้องการบนแผนที่โลกดิจิตอล
         แผนที่นี้เกิดจากการสะสมภาพถ่ายจากหลาย ๆ แหล่งข้อมูล จากดาวเทียมหลายดวง เพียงแต่นำมาประติดประต่อกันเสมือนกับว่าเป็นผืนเดียวกัน แต่ละจุดจะมีความละเอียดของภาพถ่ายไม่เท่ากัน แต่ด้วยความสามารถในการประมวลผลภาพถ่ายทำให้เราเสมือนกับว่าเป็นพื้นเดียวกัน จากนั้นก็นำเอาข้อมูลอื่น ๆ มาซ้อนทับภาพถ่ายเหล่านี้อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งแต่ละชั้น (layer) ก็จะแสดงรายละเอียดต่างเช่น ที่ตั้งโรงพยาบาล สถานีตำรวจ สนามบิน และชั้นของข้อมูลอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งแบบที่ Google จัดเตรียมไว้ให้แล้ว หรือ มีบริษัทอื่น ๆ มาในบริการชั้นข้อมูลเหล่านี้ รวมไปถึงชั้นข้อมูลที่เรากำหนดขึ้นเอง ประโยชน์ที่ได้รับถือว่ามากมายมหาศาล บริการนี้ช่วยให้เราศึกษาข้อมูลก่อนเดินทางได้เป็นอย่างดี ทำให้เราสามารถค้นหาที่ตั้งของโรงแรมที่เราจะเดินทางไปพัก เส้นทางต่าง ๆ ของเมืองที่เราจะเดินทางไป รวมถึงแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ แต่ที่สำคัญที่สุดคิดว่าน่าจะเป็นการนำเอา Google Earth มาเป็นสื่อในการเรียนรู้ ในทุก ๆ ระดับการศึกษา รวมไปถึงการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นครั้งแรก ที่ทำให้เราเข้าถึงภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว คิดว่าเครื่องมือนี้จะทำให้เราเข้าใจโลกของเราได้มากขึ้น
         เครื่องมือที่อยู่ภายใต้ความสำเร็จนี้คือ XML (Extensible Markup Language) ซึ่งมีการกำหนดคุณสมบัติพิเศษขึ้นมาและเรียกว่า KML (Keyhole Markup Language) Google ใช้ KML นี้ในการสร้างชั้นข้อมูลต่าง ๆ การแสดงข้อมูลทั้ง จุด ลายเส้น หรือรูปหลายเหลี่ยมต่าง ๆ ล้วนสร้างมาจาก KML ทั้งสิ้น เวอร์ชันปัจจุบันเรียกว่า KML 2.0 ส่วนรูปแบบที่จัดเก็บไว้จะเป็นรูปแบบที่ประหยัดพื้นที่เรียกว่า KMZ ซึ่งกับคือ zip format ของ KML นั่นเอง สำหรับรูปแบบการทำงานของ Google Earth นั้นก็จะเป็นการทำงานแบบ client-server โปรแกรมส่วนที่พวกเราใช้งานจะเรียกว่า Google Earth client ซึ่ง Google ให้เรามาใช้งานฟรี เพื่อดูข้อมูลต่าง ๆ ภายใต้ข้อจำกัดเกี่ยวกับรายละเอียดของภาพ แต่จะว่าไปแล้วก็ไม่ได้ฟรีจริง ๆ นะ เพราะเขาก็จะได้ประโยชน์จากพวกเราในแง่ข้อมูลต่าง ๆ ที่พวกเราเข้าไปค้นหา และสะสมความรู้ที่ได้จากการค้นหาของพวกเราไว้ใช้งานต่อไป
          นอกจาก Google จะให้บริการแบบไม่คิดค่าใช้บริการแล้ว ยังมีการให้บริการในรูปแบบอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีความสามารถที่แตกต่างกัน เช่น สามารถนำข้อมูลจาก GPS receiver มาประกอบข้อมูลของ Google Earth ได้ รวมถึงการให้บริการสร้าง server ของตนเองขึ้นมาโดยการนำข้อมูลมารวมกับแหล่งข้อมูล GIS ของเราเองได้อีกด้วย

ประโยชน์ของ Google Earth
         แผนที่จะไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอีกแล้ว เพราะปัจจุบันมีเครื่องมีไฮเทคอย่าง Google Earth ที่จะมาช่วยในการค้นหา ซึ่งเป็นรูปแบบของการค้นหาง่ายขึ้น และสามารถค้นหาตำแหน่งต่างๆได้ละเอียดมากขึ้น พร้อมเพิ่มความสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้งานให้สามารถค้นหาข้อมูลจากแผนที่ได้ง่ายขึ้น ด้วยวิธีที่ง่ายในการค้นหาจุดหมายปลายทางได้ง่ายและสะดวกขึ้นด้วยการใช้แผนที่ ของ Google Earth ที่ให้มุมมองทั้งกว้าง ยาว ลึก แบบมีมิติ ซึ่งเป็นอีกจุดหนึ่งที่ดึงดูดให้นักท่องเน็ตทั้งหลายต่างให้ความสนใจ และตอบรับมากขึ้น แต่ผลพวงที่ตามมา ก็น่าติดตามเช่นกันว่า “Google Earth” จะสามารถเปลี่ยนแปลง ปลุกกระแสของชาวเน็ตได้มากน้อยแค่ไหน และส่งผลกระทบต่อธุรกิจ หรือความเป็นส่วนบุคคลของประชาชน มากน้อยแค่ไหน และจะมีผลดีผลเสียเกิดขึ้นอย่างไร ทั้งนี้ทางกองบรรณาธิการนิตยสาร PC World ได้จัดเสวนาในหัวข้อ “Google Earth มองโลกผ่านดวงตาดาวเทียม” ขึ้น เพื่อเป็นการระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
          หาก “Google Earth” ได้รับความนิยมแพร่หลาย โดยได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง แผนที่ และ “Google Earth” มาร่วมในการเสวนาครั้งนี้ ประกอบด้วยกิตติ เปรมพินิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จีไอเอส โซลูชั่น จำกัด ดร.สุรชัย รัตนเสริมพงศ์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์ความรู้ด้านอวกาศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ชัยศิลป์ พนาวิรรธน์ TRAFFIC MANAGER บริษัท ที เอส โลจิสติกส์ จำกัด สมชาย หมื่นนรินทร์ ในฐานะของยูสเซอร์คนหนึ่งที่ได้สัมผัสกับการใช้ Google Earth มาตั้งแต่ต้นโดยมี พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ บรรณาธิการอำนวยการ นิตยสาร PC World และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ thaigoogleearth.com เป็นผู้ดำเนินการเสวนา PCW : ภายหลังที่มีการใช้ Google Earth กันอย่างแพร่หลายคิดว่าจะช่วยปลุกกระแสอะไรให้เกิดขึ้นบ้างกิตติ : Google Earth คือ ปัจจัยอย่างหนึ่งที่จะผลักดัน และสร้างกระแสให้เกิดการใช้แผนที่ดาวเทียมกันมากขึ้นได้ แต่ถ้าจะนำแผนที่กรุงเทพฯ จาก Google Earth มาทำแผนที่ทั้งหมดคงไม่สามารถทำได้เนื่องจากยังติดปัญหา เรื่องของความเหลื่อมล้ำของเส้นแบ่งของแต่ละแผ่นที่ที่แต่ละหน่วยงานจัดทำขึ้นมา ดังนั้นหากต้องการจัดทำแผนที่ดาวเทียมกันอย่างจริงจัง แล้วนั้น อาจจะต้องมีการซื้อข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อมาจัดทำขึ้นเป็นแผนที่ฉบับสมบูรณ์จริงๆ
         ซึ่งในอดีตการซื้อข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมก็มีการซื้อขายกันอยู่แล้ว เพียงแต่ไม่มีโปรแกรมในการจัดการภาพถ่ายดาวเทียมเหล่านั้น ดังนั้นเมื่อซื้อภาพถ่ายแผนที่ดาวเทียมไปแล้ว ผู้ใช้จะต้องสร้างแอพพลิเคชันขึ้นมาเองเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ดร.สุรชัย : กระแสของการใช้ Google Earth ช่วยจุดประกายให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้น อาทิ รีโหมดเซ็นซิ่ง หรือ ภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งในอดีตที่ผ่านมามีการใช้แผนที่ดาวเทียมกันบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อการค้นหาเส้นทาง และยังเป็นภาพขาวดำ หลังจากนั้นเมื่อมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการผสมผสานเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไปส่งผลให้การใช้งานแผนที่ดาวเทียมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างดาวเทียมรุ่นใหม่ๆ จะมีการติดตัวเรคคอร์ดเดอร์ ไว้ด้วย ก็จะทำให้นอกจากดูเส้นทางแล้วยังสามารถบันทึกเสียงหรือภาพที่เคลื่อนไหวแบบใกล้กับปัจจุบันมากที่สุด แต่ถึงอย่างไรการเข้ามาของ Google Earth ก็มีส่วนทำให้สาธารณะเกิดความตื่นตัวมากขึ้น ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีแผนที่ดาวเทียมใช้มานานแล้วก็ตาม แต่การใช้งานในอดีตถือว่ายังอยู่ในวงจำกัดเฉพาะในหน่วยงานราชการ หรือเอกชนบางแห่ง ซึ่งข้อดีของภาพถ่ายดาวเทียมคือเป็นข้อมูลดิจิตอล และดาวเทียมรุ่นใหม่มี GPS อยู่บนดัวดาวเทียม ดังนั้นเวลาถ่ายภาพมาก็จะบอกค่าพิกัดให้เรียบร้อย ความผิดพลาดก็มีไม่มาก ไม่เหมือนรูปถ่ายทางอากาศที่ใช้เครื่องบิน ดังนั้นเมื่อ Google ออกมาทำตรงนี้ ถือว่าประสบความสำเร็จ ซึ่ง Google Earth ถือปรัชญาที่ว่าคนที่ใช้แผนที่ไม่เป็นก็สามารถใช้งานได้ เพราะใช้งานง่าย ตรงนี้ถือเป็นข้อได้เปรียบของ Google Earth และสามารถดูได้ทั่วโลก

วิธีใช้ Google Earth 
          วิธีใช้ Google Earth นั้นง่าย ให้คุณหมุนลูกโลกทางด้านขวามือด้วยเมาส์ แล้วไปหยุดที่ตรงประเทศไทย จากนั้นก็คลิกที่เมนูด้านล่างที่เป็นเครื่องหมายบวก หรือถ้าเมาส์ใครมีล้อก็ให้หมุนล้อ โปรแกรมก็จะขยายแผนที่ประเทศไทยและจะชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ ตอนแรกถ้าใครเห็นเป็นภาพแผนที่เบลอ ก็อย่าตกใจ เพราะมันต้องใช้ซีพียูในการประมวลผลพอสมควร (เน็ตความเร็วสูงก็ทำให้เห็นแผนที่ชัดเร็วขึ้นด้วย) พอขยายได้สักระยะ คุณจะเห็นว่า แผนที่ดาวเทียมของ G-Earth นั้นมีความละเอียดสูงมาก เพราะขนาดใช้เองลองไล่ ๆ หาดูในแผนที่ ลองไล่มาตั้งแต่สถานที่ใหญ่ ๆ อย่างเช่น อนุสาวรีย์ชัยฯ ทางด่วน สนามกีฬา ฯลฯ ลองไล่ไปไล่มาก็เจอเข้ากับหลังคาบ้านตัวเองจนได้ เรียกว่าเห็นรถจอดอยู่ในบ้านเลยด้วยซ้ำ สุดยอด

การติดตั้งและการถอนการติดตั้ง Google Earth 
          สำหรับคำแนะนำเกี่ยวกับการติดตั้งหรือการถอนการติดตั้ง Google Earth โปรดเลือกหัวข้อที่ต้องการด้านล่าง

ติดตั้ง Google Earth 
          หากคุณต้องการติดตั้งหรืออัปเกรดเป็น Google Earth เวอร์ชันล่าสุด คุณสามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันได้ที่ http://earth.google.com/download-earth.html
          หากคุณประสบปัญหาในการติดตั้ง Google Earth ผ่านทาง Google Updater คุณสามารถดาวน์โหลด Google Earth เวอร์ชันล่าสุดได้โดยตรงที่:
         PC: http://dl.google.com/earth/client/current/GoogleEarthWin.exe Mac:                                                http://dl.google.com/earth/client/current/GoogleEarthMac.dmg

หากต้องการถอนการติดตั้ง Google Earth
          โปรดทำตามขั้นตอนต่อไปนี้สำหรับระบบปฏิบัติการของคุณ:Windows:
          คลิก Start > Settings > Control Panel
          ดับเบิลคลิก Add or Remove Programs
          เลื่อนลงมาจนพบ Google Earth แล้วคลิกที่รายการ
          คลิก Remove แล้วคลิก Yes จากนั้นคลิก Finish
          Mac: ไปยังโฟลเดอร์แอปพลิเคชันของคุณและค้นหาแอปพลิเคชัน Google Earth
          คลิกขวาที่ไอคอนแอปพลิเคชัน Google Earth และเลือก Move to Trash

ข้อผิดพลาด
          โปรดอ่านคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีแก้ไขข้อผิดพลาดก่อนที่จะพยายามใช้คำแนะนำด้านล่างนี้ โปรดทราบเคล็ดลับเริ่มต้นดังนี้: ตรวจสอบว่าระบบปฏิบัติการของคุณได้รับ การสนับสนุน ถ้าใช้ Google Earth Pro ตรวจสอบว่าคุณมีสิทธิ์ของผู้ดูแลระบบในเครื่อง หรือติดตั้งผ่านบัญชีผู้ดูแลระบบในเครื่อง รหัสข้อผิดพลาดที่มี -5009, -5003, -6002 หรือ -6009 ระหว่างการติดตั้ง/ลบการติดตั้ง ปัญหาเหล่านี้มักจะมีสาเหตุจากซอฟต์แวร์การติดตั้งรุ่นก่อนหน้าบนเครื่องของคุณ อัปเดตเป็น InstallShield เวอร์ชันล่าสุดซึ่งมีให้บริการที่http://www.flexerasoftware.com/products/installshield.htm

ข้อผิดพลาดของ MSI หรือ .dll 
         ถอนการติดตั้ง Google Earth เวอร์ชันที่คุณใช้งานอยู่จากกล่องโต้ตอบ 'Add or Remove Programs' ใน Control Panel อัปเกรดเป็นเวอร์ชันล่าสุดได้จากลิงก์สำหรับดาวน์โหลดของเราที่ http://earth.google.com/download-earth.html ไม่สามารถเริ่มต้น Google Earth หรือแอปพลิเคชันทำงานล้มเหลว ทำตามคำแนะนำที่ http://support.google.com/earth/bin/topic.py?&topic=2376770&parent=2376014&ctx=topic

การใช้งานโปรแกรม Google Earth
         Google Earth เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการ ดูภาพถ่ายองทุกมุมโลก จากดาวเทียม ซึ่งมีความละเอียดสูงมาก สามารถ ขยายภาพ จากโลกทั้งใบ ไปสู้ประเทศ และลงไปจนถึงวัตถุเล็ก เช่น ถนน ตรอก ซอกซอย รถยนตร์ บ้านคน

         Google Earth ยังใช้งานง่ายและ สะดวกในการนำไปประยุกต์ในการเรียนการสอนได้ จึงเหมาะสำหรับ อาจารย์ และ นักเรียน ที่จะใช้ในการสอนและการเรียนในวิชาต่าง ๆ
         *Google Earth จะใช้งานได้ต่อเมื่อ เครื่องได้ทำการ เชิ่อมต่อ Internet อยู่เท่านั้น เพราะรูปถ่ายจากดาวเทียมต่างๆ จะ ถูกส่งมาให้เรา ทาง Internet ในขณะที่เราเลือกดูส่วนต่างๆของโลก
         หลังจาก Download เสร็จเรียบร้อย ให้ทำการติดตั้งตัวโปรแกรมเมื่อติดตั้งเสร็จจะมี Icon GoogleEarh ที่ Desktop



ดับเบิ้ลคลิกที่ Icon เพื่อเข้าสู้โปรแกรม

หน้าจอหลักและการใช้งานเบื่องต้น

บทที่11 google search ค้นหาอะไรก็เจอบนเตอร์เน็ต

บทที่11 google search ค้นหาอะไรก็เจอบนเตอร์เน็ต
































บทที่ 10 บริการแชร์ไฟล์ youtube

บทที่ 10 บริการแชร์ไฟล์ youtube


youtube บริการแชร์ไฟล์วิดีโอ


การแชร์ไฟล์วีดีโอบน YouTube ดังนี้

           1.เข้าไปที่ Http://www.youtube.com นะคะ แล้วคลิกคำว่า Upload Videos
           2.จากนั้นก็กรอกข้อมูลในส่วนของ Join YouTube ให้ครบถ้วน เมื่อเรียบร้อยก็กดปุ่ม sign Up ที่อยู่ด้านล่างได้เลยคะ
           3.หน้าเพจต่อมาจะแสดง username ที่เราใช้ในการ Login โดยที่จะแสดงอยู่ส่วนบน
           4.ให้เราคลิกที่คำว่า confirm Your email address เพื่อยืนยันการสมัคร ถ้าการสมัครเสร็จเรียบร้อย หน้าเพจที่เราคลิกจากใน e-mail จะแสดงข้อความว่า Your email has been confirmed คะ
           5.มาถึงขั้นตอนการอัพไฟล์วีดีโอกันแล้วค่ะ ให้เราคลิก Upload Videos อีกครั้งหนึ่งนะคะ
           6.เลือกไฟล์จากในเครื่องโดยการกดปุ่ม Browse จากนั้นกดปุ่ม Upload Videosgก็เป็นการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วค่ะ
           7.จากนั้นก็กดปุ่ม Update Video ค่ะ ในตอนแรกอาจจะยังไม่มีรูปขึ้น อย่าพึ่งงงนะคะ ต้องรอสักพักเดี๋ยวก็จะมีรูปแสดงขึ้นมา

วิธีการดาวน์โหลดไฟล์วีดีโอ
          1.ให้คัดลอกลิ้งก์วิดีโอในเว็บยูทูปมาไว้ในช่อง URL
          2.จากนั้นเลือกชนิดไฟล์ที่ต้องการจะดาวน์โหลดวิดีโอ (โดย default จะเป็นวิดีโอไฟล์ .flv)
          3.ต่อมาให้คลิกที่ปุ่ม "Download" แล้วรอสักครู่
          4.จากนั้นจะปรากฏตัวอย่างวีดีโอ และปุ่มแอนิเมชั่น "Download now" > ให้คลิกขวา เลือกเมนู Save Link As...(สำหรับ Firefox) หรือเลือกเมนู Save Target As...(สำหรับ Internet Explorer(IE)) เพื่อทำการดาวน์โหลดและบันทึกไฟล์วีดีโอ
          5.สามารถตั้งชื่อไฟล์ได้ตามต้องการ และถ้าบางไฟล์ไม่มีนามสกุลมาให้ เช่น
              - ถ้าเลือกดาวน์โหลดวิดีโอยูทูป เป็นชนิดไฟล์เป็น .flv ก็ให้พิมพ์ต่อท้ายไฟล์ด้วย .flv
              - ถ้าเลือกดาวน์โหลดวิดีโอยูทูป เป็นชนิดไฟล์เป็น .mp4 ก็ให้พิมพ์ต่อท้ายไฟล์ด้วย .mp4
              - ถ้าเลือกดาวน์โหลดวิดีโอยูทูป เป็นชนิดไฟล์เป็น .3gp ก็ให้พิมพ์ต่อท้ายไฟล์ด้วย .3gp 

ดาวน์โหลดโปรแกรมสำหรับเปิดไฟล์/เล่นไฟล์วีดีโอที่เป็น .flv (FLV Player) 

         1.Wimpy Standalone FLV Player (2.55 MB)
         2.FLV Player (4.77 MB)
         3.FLV Player (2.44 MB)

ดาวน์โหลดโปรแกรมสำหรับเปิดไฟล์/เล่นไฟล์วีดีโอที่เป็น .3gp หรือ .mp4 (3GP MP4 Player) 

         1.The KM Player (14.22 MB)
         2.GOM Media Player (5.86 MB)
         3.VLC Media Player (17.19 MB)

บทที่9 วิกีพีเดีย สารานุกรมออนไลน์

บทที่9 วิกีพีเดีย สารานุกรมออนไลน์


วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี



          วิกิพีเดีย (อังกฤษ: Wikipedia) เป็นสารานุกรมเนื้อหาเสรีหลายภาษาบนเว็บไซต์ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิวิกิมีเดีย องค์กรไม่แสวงผลกำไร เนื้อหากว่า 26 ล้านบทความ (เฉพาะวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีเนื้อหากว่า 4.2 ล้านบทความ) เกิดขึ้นจากการร่วมเขียนของอาสาสมัครทั่วโลก ทุกคนที่สามารถเข้าถึงวิกิพีเดียสามารถร่วมแก้ไขได้แทบทุกบทความได้อย่างเสรี โดยมีผู้เขียนประจำราว 100,000 คน[1] จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2556 วิกิพีเดียมี 286 รุ่นภาษา และได้กลายมาเป็นงานอ้างอิงทั่วไปที่ใหญ่ที่สุดและได้รับความนิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ต[2][3] จนถูกจัดเป็นเว็บที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดในโลกอันดับที่ 6 ตามการจัดอันดับของอเล็กซา ด้วยจำนวนผู้อ่านกว่า 365 ล้านคน[2][4] มีการประเมินว่าวิกิพีเดียมีการเรียกดูหน้าถึง 2,700 ล้านครั้งต่อเดือนในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว[5] วิกิพีเดียเปิดตัวในปี พ.ศ. 2544 โดย จิมมี เวลส์และแลร์รี แซงเจอร์[6] คำว่า "วิกิพีเดีย" เป็นคำที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยแลร์รี แซงเจอร์ มาจากการผสมคำว่า "วิกิ" (wiki) ซึ่งเป็นลักษณะของการสร้างเว็บไซต์ที่แบบมีส่วนร่วม เป็นคำในภาษาฮาวายที่แปลว่า "เร็ว" และคำว่า "เอนไซโคลพีเดีย" (encyclopedia) ที่แปลว่าสารานุกรม

         มีการกล่าวถึงวิกิพีเดียอยู่บ่อยครั้ง ในแง่ความแตกต่างกับรูปแบบการจัดทำสารานุกรมแบบเก่าที่มีเฉพาะผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้จัดทำขึ้น และการรวบรวมเนื้อหาที่ไม่เป็นวิชาการไว้เป็นจำนวนมาก ครั้งเมื่อนิตยสารไทม์จัดให้ "คุณ" (You) เป็นบุคคลแห่งปี พ.ศ. 2549 อันเป็นการยอมรับความสำเร็จที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจากความร่วมมือและปฏิสัมพันธ์ออนไลน์ของผู้ใช้หลายล้านคนทั่วโลก ก็ได้อ้างถึงวิกิพีเดียว่าเป็นตัวอย่างหนึ่งของบริการเว็บ 2.0 เช่นเดียวกับยูทูบ มายสเปซ และเฟซบุ๊ก[7] บางคนลงความเห็นว่าวิกิพีเดียมิได้มีความสำคัญเป็นเพียงสารานุกรมอ้างอิงเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งข่าวที่อัปเดตอย่างรวดเร็วอีกด้วย เพราะมักพบเหตุการณ์ปัจจุบันถูกสร้างเป็นบทความในวิกิพีเดียอย่างรวดเร็ว[8][9]นักเรียนนักศึกษายังได้รับคำสั่งให้เขียนบทความวิกิพีเดียเพื่อฝึกอธิบายแนวคิดที่เข้าใจยากให้ผู้อ่านที่ไม่เคยศึกษามาก่อนเข้าใจได้ชัดเจนและรัดกุม

การเข้าใช้




          เว็บไซต์วิกิพีเดีย (รวมทุกภาษา) เป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้จากประเทศไทยเข้ามากเป็นอันดับที่ 8[1] โดยการจัดอับดับของอเล็กซา และเมื่อเทียบกับวิกิพีเดียภาษาอื่น ๆ วิกิพีเดียภาษาไทยมีผู้ใช้ทั่วโลกเข้ามากเป็นอันดับที่ 19[2] จากฐานข้อมูลสถิติของวิกิมีเดีย จากการสำรวจด้วยแบบสอบถามโดย มนัสชล หิรัญรัตน์ นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้วิกิพีเดียภาษาไทยและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทย 400 คน ร้อยละ 80 เปิดดูวิกิพีเดียภาษาไทยอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง และร้อยละ 48 เปิดอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง โดยร้อยละ 54 เข้าสู่เว็บไซต์โดยตรง (ผ่านทางที่อยู่ th.wikipedia.org) และร้อยละ 51 เข้าผ่านทางเสิร์ชเอนจิน (หนึ่งคนสามารถตอบได้มากกว่าหนึ่งช่องทาง) และมีประมาณร้อยละ 27 ที่ตอบว่าเคยมีส่วนร่วมในการปรับปรุงเนื้อหาในวิกิพีเดียภาษาไทย[3] ใน พ.ศ. 2555 มีการเปิดเผยคำค้นที่มีผู้ค้นหามากที่สุด พบว่าคำค้นสามอันดับแรกที่มีผู้ค้นหาในวิกิพีเดียภาษาไทยมากที่สุด ได้แก่ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เศรษฐกิจพอเพียงและประเทศไทยตามลำดับ

ลักษณะเฉพาะ

          วิกิพีเดียไทยที่มีการกล่าวถึงในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ วิกิพีเดียภาษาไทยเป็นเว็บไซต์สารานุกรมออนไลน์ภาษาไทยแห่งที่สองที่ถูกสร้างขึ้น โดยก่อนหน้านี้มีสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฉบับกาญจนาภิเษก ความต่างของวิกิพีเดียคือ เนื้อหาถูกสร้างขึ้นโดยผู้ใช้หลายคน และแจกจ่ายได้เสรีภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แบบแสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 3.0 และสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของกนู ในขณะที่สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนไม่สามารถเผยแพร่ต่อได้หากไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร
          รูปแบบของวิกิพีเดียภาษาไทยที่แตกต่างจากวิกิพีเดียภาษาอื่นอย่างเห็นได้ชัด คือ มีการย่อเข้ามาของบรรทัดแรกของแต่ละย่อหน้า สอดคล้องกับลักษณะเอกสารภาษาไทย

วิธีใช้:การค้นหา 
          กล่องสืบค้นที่อยู่ทางด้านซ้ายมือหรือด้านบนขวาจะนำคุณไปยังบทความที่คุณสงสัยหากบทความนั้นมีอยู่ หากไม่มีบทความนั้น การสืบค้นจะปรากฏรายการค้นหาแทน ถ้าคุณต้องการแสดงผลการค้นหาเท่านั้น คลิกที่ไอคอน สืบค้น ที่อยู่ถัดจากไอคอน ไป เมื่อที่จะนำคุณไปสู่หน้าค้นหา

หน้าผลการสืบค้น 
          การสืบค้นโดยปริยายจะสามารถใช้ได้กับเมนสเปซซึ่งเก็บรวบรวมบทความอยู่เท่านั้น เมื่อคุณค้นหาบทความ กล่องที่อยู่ด้านขวามือของรายการค้นหาจะแสดงผลการค้าหาที่ใกล้เคียงที่สุดจากโครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย อย่างเช่น วิกิพจนานุกรม วิกิซอร์ซ และวิกิตำรา หน้าเนื้อหาประเภทอื่นสามารถค้าหาได้โดยการเลือกตัวเลือกจากกล่องประเภทการค้นสีเทาที่อยู่ด้านล่างของกล่องป้อนคำสืบค้น หากคุณเลือก มัลติมีเดีย คุณจะสามารถค้นหาภาพ วิดีโอ และเพลงซึ่งเก็บอยู่บนวิกิพีเดียหรือวิกิมีเดียคอมมอนส์ ตัวเลือกนี้จะค้นหาชื่อไฟล์และคำอธิบายไฟล์ หากคุณเลือก วิธีใช้และหน้าโครงการ คุณจะสามารถค้นหาเนมสเปซ "วิธีใช้" และ "วิกิพีเดีย" เนมสเปซดังกล่าวรวบรวมหน้าวิธีใช้ นโยบายและแนวปฏิบัติวิกิพีเดีย และหน้าทั้งหมดซึ่งใช้สำหรับการบริหารและการบำรุงรักษาไซต์ หากคุณมีคำถามที่เจาะจงเกี่ยวกับวิกิพีเดีย คุณสามารถหาที่ที่ถูกต้องสำหรับถามคำถามได้ที่ วิกิพีเดีย:ถามคำถาม หากคุณเลือก ทุกสิ่งทั้งหมด คุณจะสามารถค้นหาเนมสเปซทั้งหมด ในการค้นหาสับเซตของเนมสเปซทั้งหมด คลิก ขั้นสูง ในฟอร์มการค้นหา วิธีการที่เร็วกว่าในการค้นหาเนมสเปซประเภทใดประเภทหนึ่งคือการพิมพ์ชื่อเนมสเปซนั้น ตามด้วยโคลอน (:) และตามด้วยคำค้นหาในกล่องค้นหา ยกตัวอย่างเช่น วิกิพีเดีย:การพิสูจน์ยืนยันได้ จะแสดงรายการค้นหาสำหรับ "การพิสูจน์ยืนยันได้" ในเนมสเปซวิกิพีเดีย ผู้ใช้ลงทะเบียนสามารถปรับเปลี่ยนค่าโดยปริยายประเภทของเนมสเปซที่ใช้ในการค้นหาในการตั้งค่าของผู้ใช้ พวกเขายังสามารถเลือกได้ว่าต้องการให้มีบริบทมากเพียงใด และให้แสดงจำนวนการเข้าชมต่อหน้าเมื่อดูรายการค้นหาได้อีกด้วย สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม ดูเพิ่มที่ วิธีใช้:การตั้งค่า

การเชื่อมต่อฐานข้อมูลแบบเปิด
         การเชื่อมต่อฐานข้อมูลแบบเปิด หรือ โอดีบีซี (อังกฤษ: Open Database Connectivity: ODBC) เป็นส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์แบบมาตรฐานสำหรับการใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล ผู้ออกแบบ ODBC ได้ตั้งจุดมุ่งหมายที่จะทำให้เป็นอิสระจากภาษาโปรแกรม ระบบฐานข้อมูล และระบบปฏิบัติการ

โครงแบบการเชื่อมโยง 

การเชื่อมโยง JDBC-ODBC

          การเชื่อมโยง JDBC-ODBC ประกอบด้วยตัวขับ JDBC ที่ใช้ตัวขับ ODBC ในการติดต่อกับฐานข้อมูล ตัวขับนี้จะแปลการเรียกเมท็อดใน JDBC ให้เป็นการเรียกฟังก์ชันใน ODBC ปกติแล้วนักเขียนโปรแกรมจะใช้การเชื่อมโยงนี้เมื่อฐานข้อมูลไม่มีตัวขับ JDBC ซึ่ง Sun Microsystems ได้ใส่การเชื่อมโยงนี้ไว้ใน JVM แต่ถ้ามีตัวขับ JDBC อยู่น้อยจะมองการเชื่อมโยงนี้เป็น Stop-gap measure


การเชื่อมโยง ODBC-JDBC 
          การเชื่อมโยง ODBC-JDBC ประกอบด้วยตัวขับ ODBC ที่ใช้บริการของตัวขับ JDBC ในการติดต่อฐานข้อมูล ตัวขับนี้จะแปลการเรียกฟังก์ชันใน ODBC ให้เป็นการเรียกเมท็อดใน JDBC ปกติแล้วนักเขียนโปรแกรมจะใช้การเชื่อมโยงนี้เมื่อไม่มีตัวขับ ODBC สำหรับฐานข้อมูลที่ใช้อยู่แต่สามารถเข้าถึงตัวขับ JDBC ได้

การแก้ไข



          เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 มูลนิธิวิกิมีเดียได้จัดทำการศึกษาการใช้งานวิกิพีเดีย โดยตั้งคำถามผู้ใช้เกี่ยวกับกลไกการแก้ไข วิกิพีเดียดำเนินการด้วยรูปแบบการแก้ไข "วิกิ" ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ซึ่งแตกต่างไปจากรูปแบบสารานุกรมในอดีต ทุกบทความสามารถแก้ไขได้โดยไม่จำเป็นต้องมีบัญชีผู้ใช้ก่อน ยกเว้นบางหน้าที่มีการก่อกวนอย่างต่อเนื่อง แต่ทุกคนก็ยังสามารถสร้างบทความใหม่ได้ ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของบทความในวิกิพีเดีย หรือมีบทความอยู่ภายใต้การกลั่นกรองของผู้มีอำนาจใด ๆ แต่บทความจะตกลงกันโดยมติเอกฉันท์ เมื่อบทความมีการเปลี่ยนแปลง การแก้ไขนั้นจะแสดงผลทันทีโดยปราศจากการตรวจทาน ไม่ว่าการแก้ไขนั้นจะมีข้อบกพร่อง เป็นข้อมูลที่ผิด หรือการแก้ไขไร้สาระ ขณะที่วิกิพีเดียบางภาษานอกเหนือไปจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ซึ่งการควบคุมบริหารไม่ขึ้นต่อกัน สามารถปรับเปลี่ยนนโยบายดังกล่าวได้อย่างเสรี ยกตัวอย่างเช่น วิกิพีเดียรุ่นภาษาเยอรมันบำรุงรักษาระบบ "รุ่นเสถียร" ของบทความ เพื่อให้ผู้อ่านเห็นรุ่นบทความที่ผ่านการตรวจทานแล้วเท่านั้น ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 มีการประกาศว่าวิกิพีเดียภาษาอังกฤษจะยกเลิกการจำกัดการแก้ไขอย่างเข้มงวดจากบทความที่ "เป็นที่ถกเถียงกัน" หรือมีแนวโน้มว่าจะถูกก่อกวน โดยใช้การตรวจสอบแทนการจำกัดการแก้ไขสำหรับผู้ใช้ใหม่หรือไม่ได้ลงทะเบียน โดยจะมี "ระบบใหม่ ที่เรียกว่า 'การแก้ไขที่กำลังพิจารณา'" ซึ่งจิมมี เวลส์ให้สัมภาษณ์แก่บีบีซีว่า จะเป็นการทำให้วิกิพีเดียภาษาอังกฤษ "เปิดบทความให้ทุกคนแก้ไขได้หลังถูกห้ามมาหลายปี" ระบบ "การแก้ไขที่กำลังพิจารณา" เปิดตัวเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน การแก้ไขต่อบทความบางส่วนจะ "ต้องได้รับการทบทวนจากผู้พัฒนาวิกิพีเดียที่ได้รับการแต่งตั้งก่อนจึงจะแสดงผล" เวลส์ไม่เห็นด้วยกับระบบของวิกิพีเดียภาษาเยอรมันที่ต้องให้ตรวจสอบการแก้ไขในทุกบทความ โดยอธิบายว่ามัน "ทั้งไม่จำเป็นและไม่เป็นที่ต้องการ" เขาเสริมอีกว่า ผู้ดูแลระบบของวิกิพีเดียภาษาเยอรมัน "กำลังจะเฝ้ามองระบบของรุ่นภาษาอังกฤษอย่างใกล้ชิด และผมมั่นใจว่าอย่างน้อยพวกเขาจะพิจารณาเปลี่ยนแปลงหากผลลัพธ์ออกมาดี

          ผู้ร่วมพัฒนา ไม่ว่าจะลงทะเบียนหรือไม่ ต่างก็สามารถใช้ประโยชน์ได้จากคุณลักษณะซึ่งเปิดโอกาสให้ใช้โดยซอฟต์แวร์ที่วิกิพีเดียทำงานอยู่ หน้า "ประวัติ" ที่ปรากฏในบทความทุกบทจะบันทึกรุ่นในอดีตทั้งหมดของแต่ละบทความ ถึงแม้ว่าประวัติส่วนที่มีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาท ข่มขู่จะดำเนินคดีตามกฎหมาย หรือข้อมูลที่ละเมิดลิขสิทธิ์จะถูกนำออกหลังจากนั้น[42] คุณลักษณะดังกล่าวทำให้เป็นการง่ายที่จะเปรียบเทียบทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ย้อนการแก้ไขที่ถูกพิจารณาว่าไม่พึงประสงค์ หรือเรียกคืนเนื้อหาที่หายไป หน้า "อภิปราย" ของแต่ละบทความใช้เพื่อเป็นประสานงานระหว่างผู้ร่วมแก้ไขหลายคน[43] ผู้แก้ไขเป็นประจำมักจะ "เฝ้าดู" บทความที่พวกเขาสนใจ เพื่อที่ว่าพวกเขาจะสามารถติดตามการแก้ไขล่าสุดของบทความนั้น ๆ ได้โดยง่าย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ตบอตได้ถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อย้อนการก่อกวนทันทีที่เกิดขึ้น[16] หรืออาจใช้เพื่อคำสะกดผิดที่พบบ่อย และปัญหาด้านการจัดรูปแบบ หรือเพื่อสร้างบทความใหม่ อย่างเช่น สร้างเอ็นทรีภูมิศาสตร์ในรูปแบบมาตรฐานจากข้อมูลสถิติ

          บทความในวิกิพีเดียจัดอยู่ในสามแนวทาง ตามสถานะการพัฒนา สาระสำคัญของหัวเรื่อง และระดับการเข้าถึงที่จำเป็นต่อการแก้ไข สถานะบทความที่มีการพัฒนาสูงสุด จะเรียกว่า "บทความคัดสรร" ซึ่งก็คือ บทความที่ได้รับการเห็นชอบจากผู้แก้ไขวิกิพีเดียว่าจะแสดงในหน้าหลักของวิกิพีเดีย[44][45] นักวิจัย จาโคโม โปเดอรี พบว่าบทความมีแนวโน้มว่าจะได้รับสถานะบทความคัดสรรถ้าเป็นงานเขียนอย่างละเอียดถี่ถ้วนของผู้แก้ไขจำนวนน้อย[46] ใน พ.ศ. 2550 ในการเตรียมการจัดทำวิกิพีเดียรุ่นตีพิมพ์ วิกิพีเดียภาษาอังกฤษได้ริเริ่มเกณฑ์การประเมินเพื่อตัดสินคุณภาพของบทความ

           โครงการวิกิเป็นแหล่งสำหรับกลุ่มผู้แก้ไขที่จะร่วมมือประสานงานกันในหัวเรื่องใดหัวเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ หน้าอภิปรายของโครงการวิกิมักจะใช้เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในบทความต่าง ๆ วิกิพีเดียยังได้คงรูปแบบของการเขียนที่เรียกว่า คู่มือในการเขียน ซึ่งกำหนดเงื่อนไข อย่างเช่น ในประโยคแรกของแต่ละบทความ หัวเรื่องของบทความหรือชื่ออื่นที่เรียกหัวเรื่องนั้นควรจะทำเป็นตัวหนา

บทที่ 8 การโหลดไฟล์ BitTorrent

บทที่ 8 การโหลดไฟล์ BitTorrent


ความสามารถของ BitTorrent
          ก่อนการใช้งานต้องมีโปรแกรมที่เรียกว่า ทอร์เร็นต์ไคลเอนต์ก่อน หลังจากนั้นจึงจะสามารถไปดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซต์บิตทอร์เรนต์ต่างๆ ได้ โดยในปัจจุบันเว็บไซต์บิตทอร์เรนต์ มี 2 ประเภท คือ บิตทอร์เรนต์เปิด และ บิตทอร์เรนต์ปิด
          บิตทอร์เรนต์เปิด - คือเว็บไซต์บิตทอร์เรนต์ ที่บุคคลทั่วไปทั่วไปหรือสมาชิกที่ผ่านเข้าไปสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ โดยไม่มีเงื่อนไขและไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกที่เว็บไซต์นั้นๆ
          บิตทอร์เรนต์ปิด - คือเว็บไซต์บิตทอร์เรนต์ ที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถเข้าไปดาวน์โหลดไฟล์ได้ โดยจะต้องเป็นสมาชิกก่อนเท่านั้น และในบางเว็บไซต์จะไม่สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ ถ้าสมาชิกยังไม่ได้อัปโหลด โดยจะมีการคำนวณ ปริมาณการอัปโหลดต่อดาวน์โหลดเป็น Ratio โดยแต่ละเว็บไซต์จะกำหนด Ratio ขั้นต่ำในการดาวน์โหลดไฟล์แตกต่างกัน

BitTorrent คืออะไร
          หลังจากที่ได้พูดถึงเรื่อง P2P ทั่วไปแล้วตอนแรก อ่านมาถึงตรงนี้คงจะเริ่มเข้าใจหลักการทำงานคร่าวๆของ P2P ไม่มากก็น้อยกันแล้วนะครับ แต่ก็อย่างที่ทุกคนเข้าใจกันดี "ไม่มีอะไรที่จะสมบูรณ์ไปมันทุกอย่าง" หรือเรียกว่า "Perfect" ทุกๆ อย่างต้องมีจุดอ่อน ถึงแม้ว่า P2P ที่ว่า จะแก้ปัญหาจุดอ่อนเรื่อง Bandwidth และทรัพยาการเครื่องแม่ข่ายที่สูงได้ แต่ถึงกระนั้นความเร็วที่ได้ก็ไม่ค่อยจะดีเอาเสียเลย เนื่องจากความเร็วที่ได้นั้น จะได้จากจากเชื่อมต่อผู้ใช้ด้วยกันเอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วความเร็ว Internet ในการรับส่ง ของผู้ใช้ตามบ้านนั้นไม่ได้เร็วเหมือนเครื่อง ที่ใช้เป็นแม่ข่ายโดยซึ่งเฉพาะที่จะตั่งอยู่ใน ISP ซึ่ง Bandwidth อย่างต่ำๆ นั้นเป็น 100Mbit และผู้ใช้เอง ส่วนมากนั้นก็จะเห็นแก่ตัว คือไม่ปล่อยให้ตัวโปรแกรมส่งแบบเต็มๆ Bandwidth ที่มีจะกั้กเอาไว้ (มีน้อยแล้วยังจะกั้กอีก) ส่วน Bandwidth ดาวน์โหลดนั้นดันเปิดไว้เต็มๆ เอากับเขาสิ... ทำให้โปรแกรมประเภท P2P ที่กล่าวมานั้นความเร็วที่ได้จะขึ้นอยู่กับว่าคนที่มีไฟล์ที่เรากำลังโหลดอยู่นั้นมีความเร็วในการส่งข้อมูลให้เรามากแค่ไหน (กั้กอีกแค่ไหน) รวมถึงมีคนที่มีไฟล์เดียวกับเรานั้นมีมากแค่ไหน ซึ่งจะเห็นได้ว่าความเร็วที่ได้นั้นมีเงื่อนใขหลายอย่างประกอบกันมากพอสมควร

          ถึงตรงนี้ Bittorrent ก็กำเนิดขึ้นมาซึ่งมีการทำงานแตกต่างจาก P2P ทั่วไปอยู่เล็กน้อยแต่ก็ทำให้ความเร็วที่ได้นั้น
          นำหน้า P2P ทั่วไปอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียวและมีความถูกต้องของข้อมูลสูงรวมถึงทำให้ทุกคนรู้จักถึงคำว่า "แบ่งปัน" หรือ "give and take" นั้นเอง เราคงจะข้ามความเป็นมาของ Protocal* Bittorrent เนื่องจากมีสาเหตุเดียวกันกับ P2P ทั่วไปแต่คงจะขาดชื่อของผู้คิดระบบนี้ไปไม่ได้ชื่อของเขาก็คือ "Bram Cohen"

          และเนื่องจากระบบนี้มีข้อแตกต่างที่ออกจะทำให้ผู้ใช้มือใหม่บางคนถึงกับ อึ่ง-ทึ่ง-เสียว งงงวยไปตามๆ กันและเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ในเมือบทความนี้ไม่ได้เน้น P2P ตัวอื่นผมก็จะมาล้วงตับเจ้า Bittorrent นี้กันเลย จากตรงนี้คุณควรจะเข้าใจศัพท์พื้นฐานได้แล้วนะครับ เนื่องจากมันจะมีคำแปลกประหลาดโผล่ออกมาจากบทความอยู่เรื่อยๆ ที่ปรึกษาของพวกท่านผมเนะนำก็คือ "Google" ครับ *Protocal = ขอตกลงของ หรือ ภาษา ที่ใช้สื่อสารกันระหว่างกันของคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถสื่อสารกันได้รู้เรื่อง(คุยภาษาเดียวกัน)

         ก่อนเราจะมาเข้าเรื่อง ระบบการทำงานของ Bittorrent เราต้องมารู้จักเป็นส่วนๆก่อนเพราะแต่ละส่วนนั้นทำงานควบคู่กันไป ถ้าให้อธิบายรวบทีเดียวแทยที่จะเข้าใจ มันจะงงยิ่งกว่าเดิม (เป็นข้อจำกัดทางความสามารถของผู้เขียน)

          1.Torrent client หรือที่เรียกกันติดปากว่า Program torrent ซึ่งมีให้เลือกกันลายตัวทีเดียว เช่น Bitcomet,BitTornado,Azureus,TorrentStorm ฯลฯ ซึ่งแต่ละตัวนั้นก็มีข้อแตกต่างกันนิดๆหน่อยในเรื่องความสามารถที่ผู้เขียนแต่ละคนเขียนเพิ่มลงไป แต่โดยพื้นฐานก็อยู่บน Protocal Bittorrent เดียวกัน ตัว Program เหล่านี้ ใช้ในการดาวน์โหลด ไฟล์ ด้วย Protocal Torrent นั่นเอง
          2.Tracker server เรียกสั่นๆว่า Tracker ทำหน้าที่เป็นแม่ข่ายกลางระหว่าง Torrent client ด้วยกันและโดยส่วนมากแล้วจะเก็บไฟล์ .torrent ไว้ด้วย แต่ก็มีคนชอบมีคนสับสนว่าตัว Torrent portal เช่นพวก suprnova ที่ชี้ไปยังไฟล์ Torrent ของ Tracker ที่อื่นนั้นเป็น Tracker สะเอง จริงๆแล้วผิดนะครับ (แต่ไฟล์บางส่วนบนนั้นเขาก็เป็น tracker เอง) 
          3.Torrent file ไฟล์นี้เป็นไฟล์ที่สำคัญมากๆ เพราะจะเก็บข้อมูลหลายอย่างเพื่อใช้ในการดาวน์โหลดไฟล์ ด้วย Protocal torrent นี้ ไฟล์นี้จะถูกใช้โดย Torrent client เพื่ออ่านข้อมูลที่บรรจุอยู่ เช่น ที่อยู่ของ Tracker,Check sum** ของไฟล์ที่เก็บไว้ **Check sum = ระบบการตรวจสอบไฟล์โดยการใช้ระบบ "ผลรวม"

         การทำงานของ Bittorrent แบบง่ายๆ (จริงอยากให้แบบละเอียดนะครับแต่มันซับซ้อนเดี๋ยวจะไม่รู้เรื่องกันเปล่าๆ เลยเอาแค่นี้พอครับ) ผมจะเริ่มเมื่อได้ไฟล์ .torrent มาแล้วนะครับ หลังจากเมื่อเราใช้ Torrent client เปิด file .torrent แล้ว
          -ตัว Program จะอ่านค่าที่อยู่ของ Tracker server ในไฟล์ที่เปิด แล้วติดต่อไปหาเพื่อทำการส่งข้อมูลเกี่ยวกับไฟล์ที่ต้องการไปหา
          -จากนั้น ทาง Tracker server จะตรวจสอบว่ามีไฟล์ที่ขอมามีการลงทะเบียนไว้ในระบบหรือไม่ ถ้ามีจะตรวจดูว่ามีคนเข้ามาโหลดไฟล์นี้อยู่เท่าไหร่ แล้วก็จะทำการส่งรายการ IP Address*** ของคนที่โหลดอยู่กลับไปรวมทั้งเก็บ IP Address ของเราไว้ด้วย (เก็บไว้ส่งให้คนอื่น)
          -เมื่อ Torrent client ได้ IP Address แล้วก็ มันก็จะทำการติดต่อไปยัง IP Address ทีได้มาโดยจะส่งคำถามไปว่า "นี้น้องๆ มีส่วนใหนอยู่บ้างละ?" ทางปลายทางจะตอบกลับมา "มีอยู่ ... ส่วนครับเพ่" ตัว Torrent client จะตรวจว่าเรายังขาดส่วนใหน แล้วส่งคำร้องขอส่วนที่ต้องการไปให้ ทางปลายทางก็จะส่งสวนที่เราขอกลับมาให้ ขณะเดียวกันนั้นเองตัว Torrent client ก็จะเปิดรับคำร้องจากคนอื่นๆในแบบเดียวกัน

IP ADDRESS = Internet Protocal address 
          ตรงนี่จะมีกฏอยู่เล็กน้อยคือ เมื่อเราส่งคำร้องไปแล้วทางปลายทางจะทดสอบเราโดยการส่งคำร้องให้เราส่งส่วนที่เรามีกลับไปหาด้วย ถ้าเราส่งได้ช้าหรือไม่ส่งเลยตัว Torrent client ปลายทางจะทำการปฏิเสทคำร้องจากเราหรือไม่ก็ส่งให้เราช้าๆ เหมือนที่เราส่งกลับไปหาเขา จุดนี้ทำให้ผมบอกว่า ระบบนี้เป็นระบบต้อง แบ่งปัน "ให้มากได้มาก ให้น้อยได้น้อย"

ส่วนประกอบของ BitTorrent

          1. Tracker Client คือ Application ที่ใช้ในการ Download/Upload File Bittorrent ซึ่งมีหลายโปรแกรม มีการทำงานอยู่บน Protocal bittorent เหมือนกันซึ่งสามารถที่จะหา Download ได้จาก www.macupdate.com, www.versiontracker.com application แต่ล่ะตัวก็ความแตกต่างกันหลักๆ ก็คงเป็นแค่ interface เท่านั้น เพราะโปรแกรมเหล่านี้ทำหน้าที่ download/upload file torrent เหมือนกันนั่นเอง
          2. Tracker Server หรือเรียกกันสั้นๆว่า Tracker คือแม่ข่ายทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างระหว่าง Client และทำหน้าที่เก็บรวบรวม Torrent File ( ไฟล์.torrent ) ไว้
          3. Torrent File คือตัวสำคัญในการรับ-ส่ง Share File กัน เพราะ Torrent File นี้จะถูกGenerate File ขึ้น โดยจะต้องมีการกำหนด URL ของ Tracker Server ที่ผู้ส่งจะต้องไปคนระบุไว้ ( เพราะว่า tracker ที่ใช้มีอยู่มาก จึงต้องมีการระบุแอดเดรสไว้ ) และ รูปแบบประเภทของFile นั้นๆ

BitComet โปรแกรมดาวน์โหลดไฟล์ทอร์เรนท์ยอดฮิต
          ดาวน์โหลดโปรแกรม BitComet (โปรแกรมโหลดบิท Bit Torrent ดังที่สุดในโลก ฟรี) BitComet (โปรแกรมโหลดบิท Bit Torrent ดังที่สุดในโลก ฟรี) BitComet โปรแกรมโหลดบิท Bit Torrent ที่ได้รับความนิยม ที่สุดในโลก ฟรี โปรแกรมโหลดบิท แบ่งปันไฟล์แบบ Internet Peer-to-Peer สำหรับ BitTorrent ที่เป็นที่นิยมในขณะนี้

เริ่มต้นใช้งาน BitComet

        1. เข้าหน้าดาวน์โหลดที่เราต้องการในเวบแทรคเกอร์ เลือกคลิกขวาจัดเก็บลิ้งค์ไฟล์ *.torrent ลงเครื่องเราได้เลย..


2. ให้คุณเปิดโปรแกรม BitComet ขึ้นมาได้เลยครับ..


3. เลือกเมนู "เปิด" ได้เลย..



4. เลือกไปยังไฟล์ *.torrent ที่เราทำการเซฟเมื่อสักครู่.. 



5. เลือกตำแหน่งจัดเก็บได้เลย กรณีมีหลายไฟล์เลือกเอาไฟล์ที่ไม่ต้องการออกได้..


6. กำลังเริ่มดาวน์โหลดงานอยู่..


7. ดาวน์โหลดงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว..


8. ตามมารยาทแล้ว เมื่อเราดาวน์โหลดไฟล์ของผู้อื่นเสร็จ ให้เปิดแชร์ทิ้งไว้ ให้คนอื่นได้โหลดต่อได้บ้าง



9. เมื่อไฟล์รายการโหลดเสร็จแล้ว หรือ แชร์จนไม่มีคนโหลดต่อแล้ว ให้ลบได้เลยครับ..



10. แน่ใจว่าจะลบกด OK โลด..

 

11. การสร้างไฟล์ทอเร้นท์ให้คนอื่นได้ดาวน์โหลด ไปที่เวบผู้ให้บริการเลือกเมนู Upload (ส่งไฟล์) ให้ก๊อปปี้ Passkey ทั้งหมด..


12. เปิดเมนู "สร้าง" ในโปรแกรม BitComet

   

13. ตรงรายชื่อแทรคเกอร์ให้ทำการวาง Passkey ที่ก๊อปปี้เมื่อสักครู่ลงได้เลย จากนั้นให้เลือกไฟล์ใน
เครื่องเรา ที่จะนำมาสร้างเป็นทอเร้นท์เลยครับ.. 


14. ผมเลือกไฟล์ที่ชอบๆได้แล้ว เพื่อแบ่งปันเพื่อนๆ

   

15. เมื่อแน่ใจว่าทุกอย่างถูกต้องแล้วเลือก "OK" โลดเลยครับ..


16. ไฟล์ทอเร้นท์ที่เราสร้างเพิ่มขึ้นมาแล้ว แต่คนอื่นๆยังดาวน์โหลดจากเครื่องเราไปยังไม่ได้ ต้องไปทำการอัพโหลดไฟล์ *.torrent ขึ้นเวบแทรคเกอร์ก่อน

 

17. เข้าเมนู Upload ในเวบแทรคเกอร์ (เวบผู้ให้บริการ) จัดแจงใส่รายละเอียดลงไปให้ถูกต้องและชัดเจน..

 

18. จากภาพทำการอัพโหลดไฟล์ *.torrent และรายละเอียดต่างๆเสร็จเรียบร้อยแล้ว

 

19. กลับมากด เริ่ม ที่งานในโปรแกรม BitComet ถ้าขึ้นลูกศรสีแดงๆแปลว่า มีคนมาดาวน์โหลด (ดูด) ไฟล์จากเครื่องเราแล้ว ควรปล่อยให้เค้าดาวน์โหลดจนเสร็จ จะได้แบ่งปันกันต่อๆ..

 

20. ภาพรายการไฟล์ดาวน์โหลดใหม่ ที่ผมได้เพิ่มเข้าไปตะกี้..

 

21. ออพชั่น เลือกปรับแต่งความเร็วตามความเหมาะสมกับการใช้งานของท่านได้เลย (อย่างผมจะเลือกปรับให้วิ่ง 60% ทั้งดาวน์โหลดและอัพโหลด เผื่อไว้เข้าเวบด้วย หรือทำการอื่นๆ)